วันอาทิตย์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2558

   สมาชิกในกลุ่ม XML  ม.6/1


1.  นางสาว ธาริณี ยศเจริญ       เลขที่   7


2.  นางสาว  ชลธิชา ก้องเวหา  เลขที่   31


3.  นางสาว  นัยนา กุตัน            เลขที่   30


4.  นางสาว  มลิสา บุญกันยา    เลขที่   16


5.  นางสาว  จันทนา สุทธิสา     เลขที่   3

วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

              ส่วนอื่นๆของXML

      ในช่วงก่อน (อย่างน้อย 10 ถึง 15 ปีที่ผ่านมา) ถ้าคนทั่วไป 2 กลุ่มต้องการใช้ข้อมูลร่วมกับบนเครือข่าย เมื่อเริ่มต้นต้องมีการสร้างข้อกำหนดข้อมูลสำหรับการสร้างชุดคำสั่ง ถ้ามีบุคคลอื่นต้องการข้อมูลจะต้องคัดลอกข้อกำหนด ไลบรารีของคำสั่งเพื่อสร้างชุดดำสั่งสำหรับการทำงานกับข้อมูลนั้น สิ่งเหล่านี้มีความซับซ้อนและต้นทุนสูง การแก้ไขปัญหานี้จึงนำไปสู่การประดิษฐ์ Extensible Markup Language (XML)

      อะไรคือ XML

     XML จัดการและเจาะจงภาษาสำหรับการอธิบายข้อมูลได้ง่าย ขณะที่ HTML ใช้อธิบายการแสดงข้อมูล XML เกี่ยวข้องกับการอธิบายโครงสร้างข้อมูลและความสัมพันธ์กับข้อมูลอื่น ภาษานี้เป็นข้อความอย่างง่าย (plain text) ได้รับการออกแบบให้ช่วยแบ่งข้อมูลโครงสร้างระหว่างคอมพิวเตอร์
tag ของ XML ต่างจาก HTML คือ tag ไม่ได้กำหนดไว้ก่อน ผู้เขียนโปรแกรมต้องรับผิดชอบทั้งหมด ข้อได้เปรียบของ XML
  • ไฟล์ข้อความอย่างง่ายใช้เก็บข้อมูล หมายความว่าคนและเครื่องสามารถอ่านได้ ไม่ต้องการรูปแบบข้อมูลพิเศษ
  • การสนับสนุน unicode ดีมาก หมายความว่า ข้อมูลตัวอักษรต่างๆ รอบโลกสามารถนำเสนอได้อย่างง่ายดาย
  • ไม่มีแพล็ตฟอร์มขึ้นต่อใน XML จึงเป็นเทคโนโลยีข้ามแพล็ตฟอร์มอย่างแท้จริง
  • รวมทั้งเป็นมาตรฐานเปิด
  • ความเข้มงวดรูปแบบแอกสารทำให้การกระจายและจัดการทำได้เร็วและมีประสิทธิภาพ
  • มาตรฐานที่มีอยู่ใกล้เคียงกับ แพล็ตฟอร์มหลักหมายความว่าไม่ต้องทำงานกับการเพิ่มส่วนสนับสนุน XML ในโปรแกรมประยุกต์เว็บ
  • เครื่องมือในการทำงานกับ XML มีมาก
     ตามความจริง XML เป็นเพียงภาษาอธิบายข้อมูล เอกสารเหล่านั้นไม่ได้ทำอะไรเพียงช่วยการทำงานกับข้อมูลง่ายขึ้น
ข้ออ่อนของ XML
  • เนื่องจากมีพื้นฐานไฟล์ข้อความและ tag จำนวนมากที่มีชื่อเดียวกับหมายความว่าไฟล์ XML มีขนาดใหญ่กว่าไฟล์ไบนารีที่ออกแบบมาดี ความสามารถในการบีบอัดข้อมูลและเพิ่มการใช้แถบความถี่ทำให้เป็นปัญหาได้
  • XML ได้รับการออกแบบ เฉพาะการอธิบายข้อมูลตามลำดับชั้น ไม่ใช่ข้อมูลแบบสุ่มหรือซ้อนทับ
  • สนันสนุนส่วนการทำงานปกติทั้งหมดหมายความว่าการใช้ XML บางครั้งอาจจะไม่เร็วหรือมีประสิทธิภาพตามที่ต้องการ

   ทำไมต้องใช้ XML

  ความยืดหยุ่นและการขยายของ XML ทำให้ใช้ได้กว้างขวาง
  • โครงสร้างข้อมูลง่าย เช่น ไฟล์คอนฟิก, address book หรือการเก็บข้อมูลขนาดเล็ก การใช้ XML เก็บค่าคอนฟิกและสารสนเทศของผู้ใช้กับเพิ่มจำนวนโปรแกรมทำให้ไม่ต้องเขียนคำสั่งขนาดใหญ่เพื่อจัดการสิ่งเหล่านี้
  • โปรแกรมประยุกต์ แลกเปลี่ยนข้อมูล โดยเฉพาะ business-to-business (B2B) บริษัทต้องการใช้ข้อมูลร่วม เช่น คลังสินค้า และฝ่ายกระจายสินค้า สามารถใช้ XML ส่งผ่านสารสนเทศได้ เอกสารเหล่านี้สามารถตรวจสอบได้เอง และไม่ต้องเขียนคำสั่งใหญ่
  • การประยุกต์ข้อมูลร่วม ถ้าโปรแกรมเก็บข้อมูลเป็นไฟล์ข้อมูล XML เอกสารจัดการได้กว้างตามแพล็ตฟอร์มและโปรแกรม
  • สร้างภาษา markup ใหม่ บางครั้งเรียกว่า meta language เนื่องจาก XML ยืดหยุ่นและคอนฟิกทำให้สามารถกำหนดภาษา markup ใหม่สำหรับวัตถุประสงค์หลากหลาย
ภาพตัวอย่าง เว็บไซต์บริการ






































ตัวอย่างเว็บที่สร้างด้วยภาษา XML

                                 โปรแกรม excel


          

                    รูปแบบของภาษา XML


        ในปัจจุับันเราจะพบว่าข้อมูลส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบของภาษา XML ดังนั้นนักพัฒนาโปรแกรมจำเป็นจะต้องเรียนรู้การพัฒนาโปรแกรม XML parser ที่มีประสิทธิภาพเพื่อเข้าไปอ่าน แก้ไข และสร้างข้อมูลในภาษา XML ในช่วงแรก DOM (Document Object Model) และ SAX (Simple API for XML) เป็น API ที่คนนิยมใช้กัน แต่ทั้ง 2 ตัวมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันคนละแบบ ข้อดีของ DOM คือใช้ง่าย แต่ต้องการพื้นที่หน่วยความจำเยอะ ในขณะที่ SAX ใช้ยาก และทำงานได้เร็ว และไม่ได้ต้องการพื้นที่หน่วยความจำเยอะ
        StAX (Streaming API for XML) มีข้อดีทั้งของ SAX และ DOM นั้นก็คือ StAX นั้นทำงานเร็ว ต้องการความจำน้อย และสามารถอ่านไฟล์ XML ขนาดใหญ่ได้ (ข้อดีของ SAX) และสามารถดึงข้อมูลเฉพาะที่ต้องการได้ และสร้างเอกสาร XML ได้ง่าย (ข้อดีของ DOM) นอกจากนี้คลาสที่ใช้ในการเขียนเอกสารใหม่ของ StAX มีส่วนที่ช่วยทำให้เอกสาร XML well-formed ได้โดยอัตโนมัติเช่น สร้างแท๊กปิดโดยอัตโนมัติสำหรับแท๊กเปิดที่ยังไม่มีแท๊กปิด และมีการใช้ entity references โดยอัตโนมัติสำหรับอักษรพิเศษ อย่างเช่น & และ <
ตัวอย่างของ Java โค๊ดที่เรียกใช้ StAX ในการสร้างไฟล์ XML ที่ชื่อว่า nation.xml

วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558


                                               XML คืออะไร

             เอกซ์เอ็มแอล (อังกฤษ: XML: Extensible Markup Language ภาษามาร์กอัปขยายได้) เป็นภาษามาร์กอัปสำหรับการใช้งานทั่วไป พัฒนาโดยW3C โดยมีจุดประสงค์เพื่อเป็น สิ่งที่เอาไว้ติดต่อกันในระบบที่มีความแตกต่างกัน (เช่นใช้คอมพิวเตอร์มี่มีระบบปฏิบัติการคนละตัว หรืออาจจะเป็นคนละโปรแกรมประยุกต์ที่มีความต้องการสื่อสารข้อมูลถึงกัน) นอกจากนี้ยังเพื่อเป็นพื้นฐานในการสร้างภาษามาร์กอัปเฉพาะทางอีกขั้นหนึ่ง XML พัฒนามาจาก SGML โดยดัดแปลงให้มีความซับซ้อนลดน้อยลง XML ใช้ในแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างกัน และเน้นการแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต
XML ยังเป็นภาษาพื้นฐานให้กับภาษาอื่นๆ อีกด้วย (ยกตัวอย่างเช่น Geography Markup Language (GML) , RDF/XMLRSSMathMLPhysical Markup Language (PML) , XHTMLSVGMusicXML และ cXML) ซึ่งอนุญาตให้โปรแกรมแก้ไขและทำงานกับเอกสารโดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในภาษานั้นมาก่อน

                  ภาพรวม XML

Xml เป็นภาษาที่ใช้เน้น (มาร์กอัป) ส่วนที่เป็นข้อมูล โดยสามารถกำหนดชื่อแท็ก (Element) และชื่อแอตทิบิวต์ ได้ตามความต้องการของผู้สร้างเอกสาร xml โดยเอกสารนั้นจะต้องมีความเป็น Well-formed ส่วน DTD และ Schema จะมีหรือไม่มีก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่ามีผู้ใช้เอกสารนั้นมากน้อยแค่ไหน เอกสาร xml จึงเป็นแค่เท็กซ์ไฟล์ชนิดหนึ่ง ที่มีแท็กเปิดและเท็กปิดครอบข้อมูลไว้ตรงกลางเท่านั้น ทำให้เอกสาร xml ถูกใช้ในการติดต่อกับระบบที่ต่างกัน เนื่องจากความง่ายในการสร้างเอกสาร การนำเอกสาร xml ไปใช้งาน จะสนใจแต่ข้อมูลที่ถูกเน้นด้วยแท็กมากกว่า
Well-formed เป็นไวยากรณ์พื้นฐานของเอกสาร xml อย่างเช่น เอกสาร xml ต้องเริ่มต้นด้วย <?xml version="1.0" ?> เอกสาร xml 1 เอกสาร จะต้องมีแท็กรูทเพียงแท็กเดียว หมายความว่า แท็กและข้อมูลต่างๆ จะต้องอยู่ภายในแท็กแรกสุดเพียงแท็กเดียว การเปิดและปิดแท็กจะต้องไม่มีการคร่อมกัน เช่น <b>ตัวหนา<i>และ</b>เอียง</i> จะไม่ Well-formed
เนื่องจากเอกสาร xml สามารถกำหนดชื่อแท็ก และชื่อแอตทิบิวต์ได้ตามความต้องการของผู้สร้างเอกสาร ทำให้ในการเน้นข้อมูลใดข้อมูลหนึ่ง สามารถมีเอกสาร xml หลายรูปแบบ (ผู้เขียนอาจใช้ชื่อแท็กต่างกัน ทั้งที่สื่อความหมายไปที่สิ่งเดียวกัน) หากว่าเอกสาร xml นั้น ถูกนำไปใช้ติดต่อกับระบบอื่นๆ อาจทำให้สื่อความหมายไม่ตรงกัน ดังนั้นจึงต้องมีการกำหนดรูปแบบที่เป็นมาตรฐานขึ้น (ตกลงรูปแบบระหว่างกัน) โดย DTD และ Schema จะเป็นตัวกำหนดว่าเอกสาร xml นั้น จะต้องมีแท็กอะไรบ้าง ภายในแท็กนั้นจะมีแท็ก แอตทิบิวต์ หรือข้อมูลอะไรได้บ้าง โดย DTD จะต่างกับ Schema ตรงที่ Schema เป็นเอกสาร xml ด้วย

ความเป็นมาของ XML (Extensive Markup Language)

โปรโตคอลอินเตอร์เนต (Internet Protocol-IP), HypertText Markup Language และ HyperText Transport Protocol (HTTP) ได้เป็นการปฏิวัติและสร้างมิติใหม่ในการกระจายข้อมูลและสารสนเทศ การนำเสนอ ตลอดจนการค้นคืน โดยให้ผู้ใช้สามารถใช้สารสนเทศที่ต้องการได้ง่ายด้วยเบราวเซอร์ และมี search engine หรือเครื่องมือในการช่วยค้นหา นอกจากนั้นยังมีการประยุกต์ไปใช้กับเครือข่ายในสำนักงานหรืออินเตอร์เน็ต และใช้สำหรับการบริการข้อมูลสำหรับลูกค้าและคู่ค้าให้สามารถตอบสนองทางด้านสารสนเทศที่ต้องการ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
สำหรับ Extensive Markup Language จะให้ประโยชน์อย่างเต็มที่เมื่อทำงานร่วมกับ HTML ด้วยเหตุที่ว่า XML ได้มีความพร้อมในแง่ของรายละเอียด และการนำข้อมูลตลอดจนโครงสร้างข้อมูลมาแสดงได้ในรูปแบบ Text ผ่านทาง HTTP ที่เปิดให้ข้อมูลขึ้นใหม่และมีความสามารถในการจัดข้อมูลได้อีกด้วย ในการเขียนเว็บเพจเมื่อใช้ HTML ผู้พัฒนาสามารถกำหนดได้ว่าส่วนไหนจะเป็นตัวหนา ตัวเอียง หรือตัวอักษรเป็นแบบไหน ส่วน XML นั้นจะเป็นการเตรียมส่วนของข้อมูลที่จะนำไปใส่ในช่องที่กำหนดตามการเขียนของ HTML ยกตัวอย่างเช่น ข้อมูลด้านราคา หรือราคาที่ตั้งสำหรับการจัดรายการส่งเสริมการขาย อัตราภาษี ค่าขนส่ง เป็นต้น
XML ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของ Standard Generalized Language Markup Language (SGML) ที่เป็นข้อกำหนดในการสร้างหรือจัดทำเอกสารในรูปแบบอิเล็คทรอนิกส์ที่กำหนดโดย W3C หรือ World Wide Web Consortium สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก http://www.w3.org/TR/REC-xmlที่มีโครงสร้างและรูปแบบที่เปิดให้แอพพลิเคชันต่างๆ สามารถเรียกไปใช้งานได้ เช่น บนเว็บไซต์ต่างๆ เป็นต้น และทางไมโครซอฟท์ได้มีการทำงานร่วมกับ W3C เพื่อพัฒนามาตรฐานข้อมูลบนเว็บที่ให้ HTML สามารถแสดงข้อมูลที่ XML ได้เตรียมไว้ และทางไมโครซอฟท์เองได้มีการเปิดตัว เบราว์เซอร์ตั้งแต่ IE 4.0 เป็นต้นไป ที่สามารถเรียกดูและประมวลผลข้อมูลได้ และเป็นข้อกำหนดให้ เบราว์เซอร์เวอร์ชันใหม่ของค่ายไมโครซอฟท์สนับสนุน XML